เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าประคองจิตมุ่งมั่นว่า “เราจักนำมา นำมาด้วยดี
บรรลุ สัมผัส ทำให้แจ้งซึ่งอริยธรรมในเที่ยงนี้... เย็นนี้... ก่อนภัต... หลังภัต...
ปฐมยาม... มัชฌิมยาม... ปัจฉิมยาม... ข้างแรม... ข้างขึ้น... ฤดูฝน... ฤดูหนาว...
ฤดูร้อน... ปฐมวัย... มัชฌิมวัย... ปัจฉิมวัย นี้” แม้อย่างนี้ ชื่อว่ามีจิตไม่ย่อหย่อน
ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
คำว่า มีความพากเพียรมั่นคง ในคำว่า มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึง
เรี่ยวแรงและกำลังแล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น สมาทานมั่นคง
สมาทานแน่วแน่ในกุศลธรรม คือ กายสุจริต วจีสุจริต มโนสุจริต การจำแนกทาน
การสมาทานศีล การรักษาอุโบสถ ความเกื้อกูลมารดา ความเกื้อกูลบิดา ความ
เกื้อกูลสมณะ ความเกื้อกูลพราหมณ์ ความเป็นผู้อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล
(และ) ในธรรมอันเป็นกุศลยิ่งอื่น ๆ รวมความว่า มีความพากเพียรมั่นคง
คำว่า เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
ประกอบ ประกอบพร้อม ดำเนินไป ดำเนินไปพร้อม เป็นไป เป็นไปพร้อม
เพียบพร้อมด้วยเรี่ยวแรงกำลัง ความเพียร ความบากบั่นและปัญญา รวมความว่า
มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือน
นอแรด ด้วยเหตุนั้น พระปัจเจกสัมพุทธเจ้าจึงกล่าวว่า
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ตั้งความเพียร
เพื่อบรรลุประโยชน์อย่างยิ่ง
มีจิตไม่ย่อหย่อน ไม่ประพฤติเกียจคร้าน
มีความพากเพียรมั่นคง เข้าถึงเรี่ยวแรงและกำลังแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด
[155] (พระปัจเจกสัมพุทธเจ้ากล่าวว่า)
(พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า) ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน
ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ
พิจารณาเห็นโทษในภพแล้ว
จึงประพฤติอยู่ผู้เดียว เหมือนนอแรด (4)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :489 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย จูฬนิทเทส [จตุตถวรรค] 8. ขัคควิสาณสุตตนิทเทส
คำว่า ไม่ละการหลีกเร้นและฌาน อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น
เป็นผู้พอใจในความหลีกเร้น ยินดีในความหลีกเร้น หมั่นประกอบความสงบแห่ง
จิตภายใน ไม่ห่างจากฌาน ประกอบด้วยวิปัสสนา เพิ่มพูนการอยู่ในเรือนว่าง มีฌาน
ยินดีในฌาน หมั่นประกอบในความเป็นผู้มีจิตมีอารมณ์หนึ่งเดียว หนักในประโยชน์
ของตน รวมความว่า การหลีกเร้น
คำว่า ไม่ละ... และฌาน อธิบายว่า พระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ไม่ละฌาน
ด้วยเหตุ 2 อย่าง คือ
1. ท่านประกอบ ประกอบทั่ว ขวนขวาย มุ่งมั่น มุ่งมั่นเสมอ เพื่อความ
เกิดขึ้นแห่งปฐมฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น... เพื่อความเกิดขึ้นแห่งทุติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น...
เพื่อความเกิดขึ้นแห่งตติยฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น ได้แก่ ประกอบ ประกอบทั่ว ขวนขวาย
มุ่งมั่น มุ่งมั่นเสมอ เพื่อความเกิดขึ้นแห่งจตุตถฌานที่ยังไม่เกิดขึ้น รวมความว่า
ไม่ละ... และฌาน อย่างนี้บ้าง
2. ท่านซ่องเสพ เจริญ ทำให้มากซึ่งปฐมฌานที่เกิดขึ้นแล้ว... ทุติยฌานที่
เกิดขึ้นแล้ว... ตติยฌานที่เกิดขึ้นแล้ว... ท่านซ่องเสพ เจริญทำให้มากซึ่งจตุตถฌาน
ที่เกิดขึ้นแล้ว รวมความว่า ไม่ละ... และฌาน อย่างนี้บ้าง รวมความว่า ไม่ละ
การหลีกเร้นและฌาน
คำว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ อธิบายว่า สติปัฏฐาน 4
ฯลฯ อริยมรรคมีองค์ 8 เรียกว่า ธรรม
ธรรมสมควร เป็นอย่างไร
คือ การปฏิบัติชอบ การปฏิบัติสมควร การปฏิบัติไม่เป็นข้าศึก การปฏิบัติ
เอื้อประโยชน์ การปฏิบัติธรรมถูกต้องตามหลักธรรม การรักษาศีลให้บริบูรณ์
การสำรวมอินทรีย์ ความรู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร ความเป็นผู้มีความ
เพียรเป็นเครื่องตื่นอยู่เสมอ สติและสัมปชัญญะ เหล่านี้เรียกว่า ธรรมสมควร
คำว่า ประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรมเป็นนิจ อธิบายว่า พระปัจเจก-
สัมพุทธเจ้านั้น ประพฤติอยู่ คือ อยู่ เคลื่อนไหว เป็นไป เลี้ยงชีวิต ดำเนินไป
ยังชีวิตให้ดำเนินไปในธรรมตลอดกาลเป็นนิจ คือ ตลอดกาลยั่งยืน ตลอดกาลต่อเนื่องกัน


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 30 หน้า :490 }